ปัจจุบัน สนามบินเจิ้งโจวมีปริมาณการขนส่งสินค้าและไปรษณีย์ติดอันดับ 40 ของโลก โดยมีเส้นทางขนส่งสินค้าครอบคลุม 28 ประเทศ และ 62 เมืองทั่วโลก นอกจากนี้ ศูนย์ท่าเรือบกนานาชาติยังเป็นศูนย์รวมรถไฟขนส่งสินค้าจีน-ยุโรปที่สำคัญ ซึ่งคาดว่าจะรองรับการกระจายสินค้าได้ถึง “รถไฟ 10,000 ขบวน และสินค้า 10 ล้านตัน” ภายในปี 2578
เขตนำร่องแห่งนี้ไม่เพียงเป็นศูนย์กลางการขนส่งเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมอุตสาหกรรมการผลิตชั้นสูงระดับโลกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- คลัสเตอร์อุตสาหกรรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ นำโดยฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) เอ็กซ์ฟิวชัน (xFusion) และลุงซัน (Loongson)
- คลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ นำโดยบีวายดี (BYD) สกายเวิร์ท (Skyworth) และจี๋ลี่ (Geely)
- คลัสเตอร์อุตสาหกรรมชีวการแพทย์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นครวิทยาศาสตร์การแพทย์จงหยวน (Zhongyuan Medical Science City)
ความสำเร็จที่โดดเด่นรวมถึงโรงงานฟ็อกซ์คอนน์ที่ผลิตสมาร์ตโฟนกว่า 1.2 พันล้านเครื่องนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2555 กลายเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ยอดการผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ของบีวายดีในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 169.8% แตะ 545,000 คัน
เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก เจิ้งโจวได้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ด้วยมาตรการ “รวม 10 ประการ” มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งกลไกตลาด รากฐานทางกฎหมายที่มั่นคง และได้มาตรฐานสากล พร้อมบริการสนับสนุนแบบครบวงจรที่รวดเร็วและสะดวกสบาย สำหรับในอนาคต เขตนำร่องแห่งนี้ตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นเป็นศูนย์การผลิตขั้นสูง ศูนย์กลางโลจิสติกส์ ศูนย์นวัตกรรม ศูนย์แฟชั่นเชิงสร้างสรรค์ และศูนย์พัฒนาทรัพยากรบุคคล พร้อมเปิดรับนักธุรกิจจากทั่วโลกให้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน “ทศวรรษทอง” รอบที่สองของการพัฒนา