ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าจะมีตำแหน่งงานใหม่เกิดขึ้น 170 ล้านตำแหน่ง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ 92 ล้านตำแหน่งจะหายไปจากระบบอัตโนมัติและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้การเติบโตสุทธิของการจ้างงานอยู่ที่ 7% หรือ 78 ล้านตำแหน่งทั่วโลก โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร และการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
รายงานระบุว่าภายในปี 2573 สองในห้าของทักษะที่มีอยู่จะถูกเปลี่ยนแปลง โดยทักษะสำคัญสำหรับประเทศไทยคือ ทักษะด้าน AI และ Big Data การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ และด้านเครือข่ายและความปลอดภัยทางข้อมูล พร้อมเสนอกลยุทธ์สำคัญ 5 ประการสำหรับประเทศไทย ได้แก่ การสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบองค์รวม การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับอนาคต การทดแทนแรงงานด้วยระบบอัตโนมัติ การส่งเสริมบทบาทการทำงานแบบยืดหยุ่น และการผสานเทคโนโลยีใหม่เข้ากับการทำงาน
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ยังได้ประกาศวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการก้าวสู่การเป็น ‘The University of AI’ โดยมุ่งสร้าง “คนพันธุ์ใหม่” หรือ “Future Human” ที่ไม่เพียงเชี่ยวชาญด้าน AI แต่ยังมี “ปัญญาสัญชาตญาณ” และหัวใจที่ดีงาม พร้อมสร้างคุณค่าให้แก่สังคม
